สมองและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท

สมองมนุษย์ในวัยผู้ใหญ่มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 กก. หรือมีขนาดเท่ากะหล่ำดอกขนาดกลาง มีเซลล์ประสาท(นิวรอน)ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท(ซินแนปส์) กว่า 100 ล้านล้านจุด

เซลล์ประสาทเปรียบเหมือนเครือข่าย ( building block ของสมอง ในขณะที่ซินแนปส์เป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายภายในสมอง ทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาท รวมถึงปฏิกิริยาเคมีผ่านจุดเชื่อมต่อ ดังนั้น “”ซินแนปส์”” ช่วยให้สมองสามารถทำหน้าที่สำคัญต่างๆ ได้มากมาย

tiles-neurons
tiles-lobes

สมองสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนเรียกว่า “”กลีบสมอง”” (lobes) แม้ว่ากลีบสมองจะมีการทำงานร่วมกันกันอย่างแข็งแกร่ง แต่ก็สามารถแบ่งแยกสมองได้ตามหน้าที่การทำงานของแต่ละกลีบ

สมองมนุษย์ในวัยผู้ใหญ่มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 กก. หรือมีขนาดเท่ากะหล่ำดอกขนาดกลาง มีเซลล์ประสาท(นิวรอน)ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท(ซินแนปส์) กว่า 100 ล้านล้านจุด

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

อาการระยะแรก

คุณรู้สึกต่างจากเดิมหลังจากพบว่าสมาชิกในครอบครัวของคุณได้รับผลการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ บางคนอาจรู้สึกกลุ้มใจ บางคนอาจรู้สึกตกใจ บางคนก็อาจคลายข้อสงสัยหลังจากได้รับผลการวินิจฉัยว่าสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์อย่าง ‘เป็นทางการ’

Early Symptoms

ตารางด้านล่างจะแสดงลำดับการวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยหรือบางครั้งสมาชิกในครอบครัวจะแจ้งอาการสูญเสียความจำกับแพทย์ทั่วไป จากนั้นแพทย์จะถามคำถามชุดหนึ่งและอาจจัดการทดสอบสั้นๆ เพื่อตรวจสอบความสามารถทางจิต หลังจากทดสอบเสร็จแล้ว แพทย์จะตัดสินใจว่าจะโอนผู้ป่วยให้แพทย์เฉพาะทางหรือไม่

วิธีเข้ารับการวินิจฉัย

แพทย์ทั่วไป (GP)
แจ้งปัญหาสูญเสียความจำกับแพทย์ทั่วไป จากนั้นแพทย์จะดำเนินการตรวจสอบโดยอาจมีการถามคำถาม ประเมินความจำโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ และโอนผู้ป่วยให้แพทย์เฉพาะทางต่อไป

แพทย์เฉพาะทาง
แพทย์เฉพาะทางและทีมแพทย์อาจดำเนินการตรวจสอบด้านต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งอาจรวมถึงการทดสอบระดับความจำและทำการสแกนสมอง

การวินิจฉัย
แพทย์จะตัดโรคอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคสมองเสื่อม สำหรับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ แพทย์จะใช้การทดสอบและกระบวนการที่มีมาตรฐานเฉพาะเจาะจง

การพูดคุยกับแพทย์ของคุณ

ไม่ว่าคุณจะนัดพบแพทย์เองหรือนัดให้ผู้อื่น คุณสามารถใช้เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ต่อไปนี้ได้:

  • ก่อนการพบแพทย์ ให้พยายามนึกถึงอาการที่คุณต้องการเล่าให้แพทย์ฟังในระหว่างการปรึกษา
  • เข้าพบแพทย์โดยให้พาคนที่พร้อมช่วยเหลือคุณและสามารถจดรายละเอียดสำคัญที่แพทย์กล่าวได้
  • ขอให้แพทย์จดศัพท์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีที่ภาษาแม่ของคุณไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
  • ถามเกี่ยวกับสิ่งที่จะคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อที่ให้คุณสามารถวางแผนรับมือไว้ได้
  • ถามข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อกลุ่มช่วยเหลือท้องถิ่น
  • ขอให้แพทย์อธิบายคำศัพท์หรือประโยคที่คุณไม่เข้าใจ
  • ถามเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และคำแนะนำด้านสุขภาพที่เฉพาะเจาะจง
  • ขอรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางที่คุณสามารถศึกษาข้อมูลที่จำเป็นได้

อาการของโรคอัลไซเมอร์

อาการระยะแรก

อาการระยะแรกของโรคอัลไซเมอร์นั้นมักเป็นการสูญเสียความจำระยะสั้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะหลงลืมสิ่งที่ตนเองเพิ่งทำไป แต่อาจจะยังคงจำเหตุการณ์ต่างๆ ในปีที่ผ่านมาได้อย่างแม่นยำ อาการลักษณะนี้ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าความทรงจำของตนเองไม่มีอะไรผิดปกติไปจากเดิมเนื่องจากยังสามารถจดจำรายละเอียดจากเหตุการณ์ในอดีตได้ อย่างไรก็ตาม อาการสูญเสียความจำระยะสั้นนั้นเป็นลักษณะของโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก

tiles-symptoms
tiles-difference

ความแตกต่างระหว่างโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกกับอาการหลงลืม

เราทุกคนล้วนเกิดอาการหลงลืมได้ตลอดเวลา ซึ่งอาการหลงลืมนี้มักจะเกิดบ่อยมากขึ้นตามอายุขัย แต่เราก็ตัดสินได้ยากว่าอาการหลงลืมนี้เป็นผลจากการมีอายุมากขึ้นจริงๆ หรือไม่ โดยปกติแล้ว เราจะสามารถแยกแยะระหว่างการสูญเสียความจำจาก ‘การหลงลืมแบบธรรมดา’ และการสูญเสียความจำจากโรคอัลไซเมอร์ด้วย ‘ระดับ’ ความร้ายแรง

คนที่มี ‘การหลงลืมแบบธรรมดา’ มักจะสามารถจดจำรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตนเองลืมได้ เช่น บุคคลดังกล่าวอาจลืมชื่อของเพื่อนบ้านแต่ก็ยังจดจำได้ว่าคนที่ตนเองกำลังพูดคุยอยู่คือเพื่อนบ้าน ในทางกลับกัน ผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มักจะหลงลืมชื่อของเพื่อนบ้าน รวมไปถึงลืมว่ารู้จักเพื่อนบ้านไปเลย

ระยะของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่มีความซับซ้อนซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการตามระยะต่างๆ ซึ่งระยะเหล่านี้จะเป็นเครื่องบ่งชี้ความร้ายแรงของโรคในสมอง ดังนั้น อาการที่แต่ละคนมีมักจะเปลี่ยนแปลงตามระยะของโรค

tiles-cause-1

ระยะแรก

ในระยะแรกนี้ อาการสูญเสียความจำจะปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน แต่บางครั้งอาการนี้ก็อาจสังเกตได้ยากเนื่องจากไม่ทราบว่าอาการนี้เป็นผลมาจากการมีอายุมากขึ้นหรือไม่

สัญญาณเตือนของอาการระยะแรกที่ควรระมัดระวังมีดังนี้:

  • ทำสิ่งของสูญหายหรือวางผิดที่
  • สับสนกับสถานที่ที่มีความคล้ายคลึงกัน
  • ใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน
tiles-stage-2

ระยะกลาง

ในโรคอัลไซเมอร์ระยะกลางนี้ ปัญหาการสูญเสียความจำจะมีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนั้น กระบวนการทำงานอื่นๆ ในสมองก็เริ่มได้รับผลกระทบด้วย

อาการที่พบได้มีดังนี้:

  • เล่าเรื่องเดิมหรือถามคำถามเดิมซ้ำหลายครั้ง
  • มีปัญหาในการจดจำสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนๆ
  • มีปัญหาในการนึกคำพูดหรือพูดติดขัด
  • ไม่สนใจรูปลักษณ์ของตนเอง
  • มีอารมณ์และบุคลิกภาพแปรปรวน
tiles-stage-3

ระยะร้ายแรง

ในระยะนี้ โรคอัลไซเมอร์จะแพร่กระจายไปตามส่วนต่างๆ ของสมอง ซึ่งจะเรียกว่าอยู่ในช่วง ‘สมองเสื่อมขั้นสมบูรณ์’ บริเวณทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความคิดได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง รวมถึงร่างกายมีปัญหาในการการทำงาน

ผู้ป่วยในระยะนี้อาจมีอาการดังนี้:

  • ไม่สามารถจำชื่อของตนเองหรือจำสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดได้
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะและการขับถ่ายได้
  • เกิดภาพ/เสียงหลอน
  • มีพฤติกรรมทำสิ่งเดิมซ้ำหรือพฤติกรรมที่มีรูปแบบเดิม
  • จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือแม้แต่เรื่องพื้นฐานในการดำเนินชีวิต

หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณการสูญเสียความจำมีความร้ายแรงขึ้นถึงระดับที่คุณรู้สึกกังวล เราแนะนำให้คุณนัดพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ยิ่งวินิจฉัยพบโรคได้เร็วเท่าไหร่ คุณก็จะสามารถจัดการกับโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร

โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้มากที่สุด คิดเป็นประมาณ 50-70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลก โรคนี้เป็นโรคทางกายภาพของสมองที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการทำงานของสมองบกพร่อง เช่น มีความบกพร่องในด้านความจำ การใช้ภาษา การคิด และพฤติกรรม และเป็นโรคที่มีอาการแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากเซลล์สมองที่เสื่อมสภาพ ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

โรคอัลไซเมอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท:

  • โรคอัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นเองและไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์: สามารถเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ในวัยใดก็ได้ แต่ส่วนมากจะเกิดหลังจากอายุ 65 ปีเป็นต้นไป โรคอัลไซเมอร์ประเภทนี้เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้ที่อาจมีหรือไม่มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน
  • โรคอัลไซเมอร์ที่เกิดจากพันธุกรรม: อัลไซเมอร์ประเภทนี้เป็นประเภทที่พบได้น้อยกว่า ซึ่งโรคจะถ่ายทอดโดยตรงจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
tiles-dementia

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

แม้ว่าสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์จะยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างแน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มเข้าใจปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มแนวโน้มให้เกิดโรคเพิ่มขึ้น ปัจจัยดังกล่าวได้แก่อายุ ประวัติครอบครัว สุขภาพของหัวใจ และลักษณะการใช้ชีวิต เช่น อาหาร และการออกกำลังกาย

tiles-cause-1

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์มากที่สุดคืออายุที่เพิ่มมากขึ้น การศึกษาต่างๆ แสดงให้เห็นว่าการเกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 65 ปีเป็นต้นไป ในประเทศสิงคโปร์ หนึ่งในสิบของกลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมีภาวะสมองเสื่อม1

1แหล่งที่มา: การศึกษาความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุในสิงคโปร์ (Well-being of the Singapore Elderly (WiSE)) โดยสถาบันสุขภาพจิต (Institute of Mental Health)

ผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อแม่หรือพี่น้อง เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์สูงขึ้น ซึ่งความเสี่ยงนี้จะสูงมากขึ้นไปอีกหากมีญาติสายตรงที่เป็นโรคนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป

tiles-cause-2
tiles-cause-3

แม้ว่าจะยังไม่มีสิ่งที่ช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้อย่างเด็ดขาด แต่ในปัจจุบันเริ่มมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ที่ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะการใช้ชีวิตหลายอย่าง สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ เช่น

  • การรออกกำลังกาย
  • การเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมอยู่เสมอ
  • การใช้สมองอยู่เสมอ
  • การรักษาระดับคอเลสเตอรอลหรือระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม ถ้าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือเบาหวาน
ซื้อตอนนี้ Get a Free Starter Kit